http://www.jozho.net
   
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 19/11/2007
ปรับปรุง 05/02/2023
สถิติผู้เข้าชม14,610,623
Page Views22,700,754
Menu
หน้าแรก
งานบรรยายโดยโจโฉ
เกี่ยวกับ&ที่มา..โจโฉ
ตัวอย่างภาพกิจกรรม
รวมเสียงโจโฉ
สนับสนุนโจโฉ
บทความโดยโจโฉ
ติดต่อโจโฉ
เลือกดาวน์โหลด
แนะนำ
มาใหม่ล่าสุด
บอกเล่าเก้าสิบ
สวดมนต์ สมาธิ
Video ธรรม
ข่าวร้อน
.
 

"ชุมนุมข้อคิดอิสระ" โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์ (ในเมื่อไม่จำเป็น)

(อ่าน 3710/ ตอบ 3)

santi

 "ชุมนุมข้อคิดอิสระ" โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ     ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์ (ในเมื่อไม่จำเป็น)

"ชุมนุมข้อคิดอิสระ" โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ




ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์ (ในเมื่อไม่จำเป็น)


..........ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์ (ในเมื่อไม่จำเป็น)? เพราะว่า เป็นการทำเพื่อยึดเอาประโยชน์ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม เป็นการก้าวหน้าของสัมมาปฏิบัติอันหนึ่ง ซึ่งได้ผลมากแต่ลงทุนทางฝ่ายวัตถุน้อยที่สุด ไปมากอยู่ทางฝ่ายใจ ซึ่งจะแยกอธิบายดังนี้ 



ฝ่ายธรรมเช่น :
1. เป็นการเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้น เพราะผักหาง่ายในหมู่คนยากจนเข็ญใจ มีการปรุงอาหารด้วยผักเป็นพื้น นักเสพผักย่อมไม่มีเวลาที่ต้องกระวนกระวายเพราะอาหารไม่ถูกปากเลย ส่วนนักเสพเนื้อต้องเลียบเคียงเพื่อได้อุทิศมังสะบ่อยๆ ทายกเสียไม่ได้โดยในที ก็พยายามหามาให้ ทายกที่มีใจเป็นกลางเคยปรารภกับข้าพเจ้าเองหลายต่อหลายนักแล้ว ว่าสามารถเลี้ยงพระได้ตั้ง 50 องค์ โดยไม่ต้องมีการรู้สึกลำบากอะไรเลย ถ้าไม่เกี่ยวกับปลากับเนื้อ ซึ่งบางคราวต้องฝืนใจทำไม่รู้ไม่ชี้กันมากๆ มิใช่เห็นแก่การที่มีราคาแพงกว่าผัก แต่เป็นเพราะรู้ดีว่ามันจะต้องถูกฆ่าเพื่อการเลี้ยงพระของเรา มีอีกหลายคนทีแรกที่ค้านว่า อาหารผักล้วนทำให้วุ่นวายลำบาก แต่เมื่อได้ลองเพียงสองสามครั้ง กลับสารภาพว่า เป็นการง่ายยิ่งกว่าง่าย เพราะบางคราวไม่ต้องติดไฟเลยก็มีตัณหาของนักเสพผักกับนักเสพเนื้อ มีแปลกกันอย่างไรจักกล่าวในข้อหลัง เฉพาะข้อนี้ขอจงทราบไว้ว่า คนกินเนื้อเพราะแพ้รสตัณหา, กินเพราะตัณหา, ไม่ใช่เพราะให้เลี้ยงง่าย
2. เป็นการฝึกในส่วนสัจธรรม คนเราห่างจากความพ้นทุกข์ เพราะมีนิสัยเหลวไหลต่อตัวเอง สัจจะในการกินผักเป็นแบบฝึกหัดที่น่าเพลิน บริสุทธิ์สะอาด ได้ผลสูงเกินที่คนไม่เคยลองจะคาดถึง มันเป็นอาหารที่จะหล่อเลี้ยง "ดวงความสัจจะ" ในใจของเราให้สมบูรณ์ แข็งแรง ยิ่งกว่าแบบฝึกหัดอย่างอื่น ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดที่ค่อนข้างง่ายโดยมาก หรือยากที่จะได้ฝึก เพราะไม่สามารถนำมาเป็นเกมฝึกหัดประจำทุกๆ วัน เราต้องฝึกทุกวัน จึงจะได้ผลเร็ว การฝึกใจด้วยเรื่องอาหาร อันเป็นสิ่งที่เราบริโภคทุกวัน จึงเหมาะมาก อย่าลืมพุทธภาษิตที่มีใจความว่า สัจจะเป็นคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์ 


 



3. เป็นการฝึกในส่วนทมธรรม (การข่มใจให้อยู่ในอำนาจ) คนเราเกิดมีทุกข์เพราะตัณหาหรือความอยากที่ข่มไว้ไม่อยู่ ข้อพิสูจน์เฉพาะเรื่องผักกับเนื้อง่ายๆ เช่น ข้าพเจ้าเห็นชาวตำบลป่าดอนสูงๆ ขึ้นไป อุตส่าห์หาบอาหารผักลงมาแลกปลาแห้งๆ ทางบ้านแถบริมทะเล ขึ้นไปรับประทาน ทั้งที่ต้องเสียเวลาเป็นวันๆ และทั้งที่กลางบ้านของเขามีอาหารผักพวกเผือก มัน มะพร้าว ผัก ฟัก ฯลฯ อย่างสมบูรณ์ และทั้งทีอาหารเหล่านั้นยังเป็นของสดรสดี สามารถบำรุงร่างกายได้มากกว่าปลาแห้งๆ จนราจับ ที่อุตส่าห์หาบหิ้วขึ้นไปไว้เป็นเสบียงกรังเป็นไหนๆ ผู้ที่ไม่มีการข่มรสตัณหา จักต้องเป็นทาสของความทุกข์ และถอยหลังต่อการปฏิบัติธรรม การข่มจิตด้วยอาหารการกินก็เหมาะมาก เพราะอาจมีการข่มได้ทุกวันด้งกล่าวแล้ว การข่มจิตเสมอเป็นของคู่กับผ้ากาสาวพัสตร์ ควรทราบว่า มันเป็นการยากอย่างยิ่ง ที่คนแพ้ลิ้นจะข่มตัณหาโดยเลือกกินแต่ผัก จากจานอาหารที่เขาปรุงด้วยเนื้อและผักปนกันมา! จงยึดเอาเกมที่เป็นเครื่องชนะตน อันนี้เถิด ในการเลี้ยงพระของงานต่างๆ ข้าพเจ้าเคยเห็น เคยได้ยินเสียงเรียกเอ็ดแต่อาหารเนื้อ ส่วนอาหารผักล้วนดูเหมือนเป็นการยากที่จะได้ถูกเรียกกับเขา แล้วยังเหลือกลับไปอีก แม้อาหารที่ปรุงประเคน ก็หายไปแต่ชิ้นเนื้อ ผักคงเหลือติดจานไปก็มี และยิ่งกว่านั้นก็คือ ควรทราบว่าแม่ครัวหรือเจ้าภาพเขารู้ตัวก่อนด้วยซ้ำ เขาจึงปรุงอาหารเนื้อไว้มากกว่าอาหารผักหลายเท่านัก ทั้งนี้ ก็เพราะตัณหาทั้งของฝ่ายทายกและปฏิคาหก ร่วมมือกัน "เบ่งอิทธิพล" 


 



4. เป็นการฝึกในส่วนสันโดษ (การพอใจเท่าที่มีที่ได้) ชีวิตพระย่อมได้อาหารชั้นพื้นๆ โดยมาก ข้าพเจ้าเคยเห็นบรรพชิตบางคนเว้นไม่รับอาหารจากคนยากจน เพราะเลวเกินไป คือเป็นเพียงผักหรือผลไม้ชั้นต่ำ แม้จะรับมาก็เพื่อทิ้ง นี่เป็นตัวอย่างที่ไม่มีความสันโดษ หรือถ่อมตน การฝึกเป็นนักเสพผักอย่างง่ายๆ จะแก้ปัญหานี้ได้หมด สันโดษเป็นทรัพย์ของบรรพชิตอย่างเอก 


 



5. เป็นการฝึกในส่วนจาคะ (การสละสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบหรือพ้นทุกข์) นักเสพผักมีดวงจิตบริสุทธิ์ผ่องใส เกินกว่าจะนึกอยากในเมื่อเดินผ่านร้านอาหารนอกกาล หรือถึงกับนึกไปเองในเรื่องที่จะบริโภคให้มีรสหลากๆ เพราะผักไม่ยั่วในการบริโภคมากไปกว่าเพียงเพื่ออย่าให้ตาย ต่างกับเนื้อสัตว์ซึ่งยั่วให้ติดรสและมัวเมาอยู่เสมอ ความอยากในรสที่เกินจำเป็นของชีวิต ความหลงใหลในรส ความหงุดหงิด เมื่อไม่มีเนื้อที่อร่อยมาเป็นอาหาร ฯลฯ เหล่านี้ข้าพเจ้ารับรองได้ว่า ไม่มีในใจของนักกินผักเลย ส่วนนักเสพเนื้อนั้น ย่อมทราบของท่านได้เอง เป็นปัจจัตตังค์เช่นเดียวกับธรรมะอย่างอื่น 


 



6. เป็นการฝึกในส่วนปัญญา (ความรู้เท่าทันดวงจิตที่กลับกลอก)


การกินอาหารจะบริสุทธิ์ได้นั้น ผู้กินต้องมีความรู้สึกแต่เพียงว่า "กินอาหาร" (ไม่ใช่กินผักหรือเนื้อ คาวหรือหวาน) และเป็นอาหารที่บริสุทธิ์ การที่จะปรับปรุงใจให้ละวางความยึดมั่นว่า เนื้อ-ผัก-หวาน-คาว-ดี-ไม่ดี ฯลฯ เหล่านี้เป็นแบบฝึกหัดที่ยาก แต่ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นโทษของการยึดมั่นในชื่ออาหารมามีความสำคัญเพียงว่าเป็น "อาหาร" ที่บริสุทธิ์แล้วก็บริโภคอยู่เสมอแล้ว นี่ก็เป็นการก้าวใหญ่ของการปฏิบัติธรรม ไม่มีอะไรดีไปกว่าอาหารผัก ที่จะเป็นอารมณ์บังคับ ให้ท่านต้องใช้ปัญญาพิจารณามันอยู่เสมอทุกมื้อ เพราะเนื้อทำให้หลงรส ผักทำให้ต้องยกใจขึ้นหารส เหมาะแก่สันดานของสัตว์ ซึ่งมีกิเลสย้อมใจจับแน่นเป็นน้ำฝาดมาแต่เดิม แต่ปัญญาของท่านต้องมีอยู่เสมอว่า ไม่ใช่จะไปนิพพานได้เพราะกินผัก เป็นเพียงการช่วยเหลือในการขูดเกลากิเลสทุกวันเท่านั้น ไว้นานๆ จะทดลองความรู้สึกในใจของท่านว่า จะบริสุทธิ์สะอาดพอหรือยัง ด้วยการลองรสอาหารที่ยั่วลิ้นเสียคราวหนึ่ง คือเนื้อที่ปรุงให้มีรสวิเศษนั่นเอง ก็ได้


          ข้าพเจ้าเอง ไม่ได้มีความเห็นว่า ฝ่ายที่จะช่วยเหลือการขูดเกลาจิตใจต้องเป็นผัก ความจริงมันควรเป็นอาหารชั้นเลวๆ ไม่ประณีตก็พอแล้ว แต่เมื่อใคร่ครวญดูไปๆ ก็มาตรงกับอาหารผัก เพราะเนื้อนั้นทำอย่างไรเสียก็ชวนกินอยู่ตามธรรมชาติ แม้เพียงแต่ต้มเฉยๆ มันก็ยังยั่วตัณหาอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้น ฝ่ายที่จะปราบตัณหาจึงกลายเป็นเกียรติยศของผัก คืออาหารที่จะข่มตัณหาได้ และมีแต่ทางบริสุทธิ์ยอย่างเดียวโดยไม่มีการระวังเลยก็ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ระแวงภัยในความประมาทอยู่เสมอ


ฝ่ายโลก เช่น :



คนกินเจ

ใน ลังกาวตารสูตรแสดงเหตุผลที่ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ สรุปได้ว่า \"ในสังสารวัฏ
คนที่ไม่เคยเป็นบิดามารดา ไม่เคยเป็นพี่น้องกัน ไม่มี สัตว์ทุกตัวตนมี
ความสัมพันธ์ทั้งสิ้นไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง\" เพราะฉะนั้น กินเนื้อสัตว์วันนี้
เราอาจกำลังกินเนื้อของสัตว์ที่เคยเป็นบิดามารดาของเราในชาติที่แล้วมาหรือ
ในอีก ๕ ชาติข้างหน้าก็ได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงผลเสียของการกินเนื้อสัตว์ไว้
เช่น ทำให้เป็นที่หวาดกลัวของสัตว์ ต่าง ๆ ทำให้กลิ่นตัวเหม็น

ทำให้ชื่อเสียงไม่ดีกระจายไป...




โดย...พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์)
ป.ธ.๙, ศษ.บ.,พธ.ม.(พระพุทธศาสนา), Ph.D. (Buddhist Studies)
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

santi


พระพุทธศาสนา สรุปอย่างไร เกี่ยวกับมังสะวิรัติ
( อาหารปลอดเนื้อสัตว์
)


พระพุทธศาสนา สรุปอย่างไร เกี่ยกับมังสะวิรัติ

พระ พุทธพจน์นี้ทำให้สรุปได้ว่า การเกิดมาในโลกในระดับโลกิยะ
มีปัญหาติดตัวมามาก สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะเป็นอาหารของสัตว์อื่น
เช่น หมู ปลา ไก่ สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะต้องกินสัตว์เป็นอาหารอย่างเดียว
โดยที่ตัวเองมีเนื้อเป็นพิษสำหรับสัตว์อื่น แม้แต่มนุษย์ที่ชอบกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
เนื้อของมนุษย์เองก็เป็นอาหารของสัตว์อื่นบางจำพวก นี่คือสังสารวัฏ


ชาว ประมงมีพาอาชีพหาปลาขาย ฆ่าปลาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
พวกเขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่พวกเขาทำผิดหลักธรรมข้อสุจริต
ล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาต และวิถีชีวิตของพวกเขาไม่ยุติธรรมสำหรับปลา
แม้กระนั้นชาวประมงก็ยังต้องดำรงชีพโดยการจับปลาขายต่อไป เกษตรกรเลี้ยงไก่
เลี้ยงปลาก็อยู่ในฐานะเดียวกัน คนที่มีอาชีพฆ่าหมูเพื่อชำแหละเนื้อออกขายใน
ท้องตลาดก็อยู่ในฐานะเดียวกัน นี่คือข้อจำกัดหรือโทษของสังสารวัฏ


ในระดับโลกุตตระ วิถีชีวิตบริสุทธิ์จากข้อจำกัดเหล่านี้ สัมมาอาชีวะหรือสัมมาอาชีพซึ่งเป็นองค์หนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ จึงหมายถึง การดำรงชีพที่ชอบเว้นจากอาชีพที่เป็นการเบียดเบียนชีวิต เช่น การค้าอาวุธแม้จะถูกต้องตามกฎหมาย การค้าแรงงานมนุษย์ การค้ายาพิษ การค้าน้ำเมา

ประเด็นเกี่ยวกับมังสวิรัติก็เช่นเดียวกัน การกินหรือไม่กินเนื้อสัตว์เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล

ประเด็นสำคัญคืออย่าฆ่าสัตว์ เมื่อพระเทวทัตต์เข้าไปเฝ้ากราบทูลขออนุญาตวัตถุ ๕ ประการ
วัตถุข้ออื่น ๆ
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระเทวทัตต์ \"อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงทำไปเถิด
 เช่น ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า\" ส่วนข้อที่เกี่ยวกับการฉันปลาและเนื้อ พระพุทธเจ้า
ตรัสตอบพระเทวทัตต์ว่า \"เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒) ไม่ได้ยิน (๓) ไม่ได้รังเกียจ\"
จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงใช้คำว่า \"ผู้ใดปรารถนาก็จงฉันปลาและเนื้อ\"
พระพุทธดำรัสนี้มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง ถามว่า \"อะไรคือนัยสำคัญแห่งพระพุทธดำรัสนี้ ?\"


พระพุทธดำรัสว่า \"เราอนุญาตและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง ...\" หมายถึง ไม่ได้ตั้งข้อกำหนดไว้ วางไว้เป็นกลาง ๆ ไม่ได้กำหนดแม้แต่จะบอกว่า \"ผู้ใดปรารถนาก็จง ...\" เพราะฉะนั้น เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นกลาง ๆ อย่างนี้ ในทางปฏิบัติ จะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม จะถูกหรือผิด พระภิกษุต้องเทียบเคียงกับหลักที่เรียกว่า
 \"มหาปเทศ\" ๒ ข้อ คือ


(๑) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า \"สิ่งนี้ไม่ควร\" ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งที่ไม่ควร
แย้งกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร

(๒) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า \"สิ่งนี้ไม่ควร\" ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งที่ควร
แย้งกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร


เมื่อ พระภิกษุเทียบเคียงถือปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมไม่ผิดพระวินัย แต่อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า
 วิถีชีวิตระดับโลกิยะ มีโทษมาก มีข้อบกพร่องมาก เช่นกรณีการกินเนื้อสัตว์
แม้จะเป็นเนื้อที่ไม่ต้องห้าม ต้องพิจารณาก่อนฉัน ถ้าไม่พิจารณาย่อมผิดพระวินัย
ซึ่งต้องการให้พระภิกษุหรือแม้แต่คนที่ไม่ใช่พระภิกษุสำนึกอยู่เสมอว่า
การกินเนื้อสัตว์แม้จะไม่ได้ฆ่าสัตว์ก็ถือว่มีส่วนทำให้ชีวิตถูกทำลาย
ถ้าไม่กินจะดีกว่าหรือไม่ ? ส่วนวิถีชีวิตระดับโลกุตตระนั้น ย่อมบริสุทธิ์จากอกุศล
เจตนาทุกประการ พระพุทธศาสนาสรุปชัดเจนในประเด็นว่า ฆ่าสัตว์ผิดศีลผิดวินัย
บางกรณีผิดกฎหมายบ้านเมือง กินเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ไม่ผิด
ถ้าเป็นพระภิกษุฉันผิดเงื่อนไข ผิดพระวินัย ถ้าไม่ผิดเงื่อนไข ไม่ผิดพระวินัย
นั่นเป็นเรื่องของศีลของคฤหัสถ์และพระวินัยของพระภิกษุ แต่อย่าลืมว่า
ฆ่าสัตว์กับกินเนื้อสัตว์เป็นคนและประเด็น กินเนื้อสัตว์ในกรณีที่แม้จะไม่ผิดศีลหรือพระวินัย
 แต่ส่งผลต่อคน/สัตว์รอบข้างและอุปนิสัยจิตใจของผู้กินแน่นอน


ใน ลังกาวตารสูตรแสดงเหตุผลที่ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ สรุปได้ว่า \"ในสังสารวัฏ
คนที่ไม่เคยเป็นบิดามารดา ไม่เคยเป็นพี่น้องกัน ไม่มี สัตว์ทุกตัวตนมี
ความสัมพันธ์ทั้งสิ้นไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง\" เพราะฉะนั้น กินเนื้อสัตว์วันนี้
เราอาจกำลังกินเนื้อของสัตว์ที่เคยเป็นบิดามารดาของเราในชาติที่แล้วมาหรือ
ในอีก ๕ ชาติข้างหน้าก็ได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงผลเสียของการกินเนื้อสัตว์ไว้
เช่น ทำให้เป็นที่หวาดกลัวของสัตว์ ต่าง ๆ ทำให้กลิ่นตัวเหม็น

ทำให้ชื่อเสียงไม่ดีกระจายไป...




โดย...พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์)
ป.ธ.๙, ศษ.บ.,พธ.ม.(พระพุทธศาสนา), Ph.D. (Buddhist Studies)
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


Page : 1
Lock Reply
 
 หน้าแรก  รวมเสียงโจโฉ  บทความ  ภาพกิจกรรม  สนับสนุนโจโฉ  ติดต่อ
view